ปรับตัวอักษร











 
 
 















 
 
 
ลูกหนี้การค้า (Account Receivable) หมายถึง จำนวนเงินที่ลูกค้ามีภาระผูกพันที่จะต้องชดใช้ให้กับกิจการในอนาคตข้างหน้าอันเนื่องมาจากธุรกิจการค้า
 
 
 
 
 
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์

ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง (Sangyod Muang Phatthalung Rice) เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์เบา ข้าวนาสวน ไวต่อช่วงแสง ปลูกฤดูนาปีในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง โดยเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2546 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ได้ทูลเกล้าถวายข้าวสังข์หยด พระองค์ทรงเสวยและทรงรับสั่งว่าอร่อยมาก ทรงโปรดให้นำข้าวสังข์หยดกลับมาปลูกใหม่เพื่อเผยแพร่และรักษาพันธุ์ข้าวไว้
ลักษณะทางกายภาพ เมล็ดข้าวกล้องมีสีแดงจนถึงแดงเข้มในเมล็ดเดียวกัน เมล็ดข้าวสารเป็นข้าวที่มีเมล็ดสีขาวปนแดงหรือสีชมพู รูปร่างเรียวเล็ก เมล็ดข้าวขัดสีแล้วจะมีสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
 








 
ผ้าทอพนมวังก์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตชาวบ้านเป็นผ้าทอมือ ที่มีความประณีต สวยงามและยังเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านและตำบลที่สืบทอดกันมา อีกทั้งได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 11 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพัทลุง และเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและงานฝีมือ ณ สวนจิตรลดา ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย เช่น
สุดยอดสินค้า OTOP ที่ได้รับการคัดสรร สุดยอดสินค้า OPC ระดับ 5 ดาว ปี 2554
สุดยอดสินค้า OTOP ที่ได้รับการคัดสรร สุดยอดสินค้า OPC ระดับ 5 ดาว ปี 2553
สุดยอดสินค้า OTOP ที่ได้รับการคัดสรร สุดยอดสินค้า OPC ระดับ 4 ดาว ปี 2552
 
 







 
ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เป็นผลิตผลส่วนหนึ่งของลูกมะพร้าว ซึ่งมีมากมายในภาคใต้เกือบทุกจังหวัด คนส่วนใหญ่จะไม่เห็นค่าของกะลา กินมะพร้าวแล้วทิ้งไป แต่กลุ่มเกษตรกรวัดแจ้งสามัคคีไม่คิดเช่นนั้น เขาได้นำเอาส่วนต่างของมะพร้าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์มากมาย

กลุ่มเกษตรกรวัดแจ้งสามัคคี นำโดย นายปลื้ม ชูคง ได้คิดทำผลิตภัณฑ์มากมายเกี่ยวกับกะลามะพร้าว ครั้งแรกทำใช้แค่ในครัวเรือนแต่เมื่อมีคนมาเห็นก็สั่งให้ทำขาย จากนั้นชื่อเสียงของผลิตภัฑ์จากกะลามะพร้าวก็เพิ่มมากขึ้น จนไปถึงต่างประเทศ

นอกจากนั้นยังสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศและชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง มีหลายประเทศได้สั่งซื้อเข้ามา ทั้งแถบยุโรป เอเชีย อเมริกา และยังสามารถผลิตเครื่องใช้ได้หลายชนิด เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องประดับตกแต่งกาย และของใช้เบ็ดเตล็ดต่างๆมากมาย...

ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวของกลุ่มนี้ต่างคนต่างทำที่บ้านของตน ใครขยันน้อยก็ทำได้น้อย ขยันมากทำได้มาก อยู่ที่แรงงานของผู้ทำแต่ละครอบครัว ผู้ที่ขยันทำทั้งกลางวัน-กลางคืน เพื่อให้ทันกับความต้องการของตลาดทั้งในและนอกประเทศ
ประเทศที่เป็นลูกค้า เช่น แคนาดา,ญี่ปุ่น,มาเลเซีย,เกาหลี,ออสเตรเลีย,สหรัฐอเมริกา,ฟิลิปปินส์,อิตาลี,ศรีลังกา,เยอรมัน,ฝรั่งเศส,สวีเดน,นิวซีแลนด์,ฟิลแลนด์,เป็นต้น
 
 
 













 
 
     
 
ลูกหยี เป็นผลไม้พื้นเมืองภาคใต้ชนิดหนึ่ง มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Dialium indum linn. อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE รับประทานได้เมื่อสุก ลักษณะผลเป็นพวง ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกเปลือกจะมีสีดำ เนื้อในเป็นสีน้ำตาลรสหวานอมเปรี้ยว แต่นิยมเอามาปรุงรสมากกว่าจะรับประทานสด ๆ ซึ่งทำได้หลายอย่าง เช่น กวน ฉาบน้ำตาล หรือทรงเครื่อง เมื่อปรุงรสใหม่แล้วจะจำหน่ายได้ราคาดีขึ้น

ต้นหยี ชอบขึ้นในที่ดอน ป่า หรือเชิงเขา ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เฉพาะกิ่งใบจะมีใบเป็นชุดกิ่งละ 5-7 ใบ ลักษณะคล้ายใบพิกุล ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้าง 5 เซนติเมตร อายุยืนเป็นร้อยปี กว่าจะให้ผลได้ต้นหยีต้องมีอายุ 30 ปีเป็นอย่างน้อย เมื่อให้ผลและถูกเก็บเกี่ยวแล้วจะหยุดให้ผลไปปีหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการเก็บเกี่ยวผลต้องใช้วิธีรานกิ่งลงมาเนื่องจากต้นสูงใหญ่มาก กว่าจะแตกกิ่งใหม่และให้ผลอีกจึงต้องใช้เวลาถึง 2 ปี ต้นหยีต้นหนึ่งสามารถทำรายได้ให้กับเจ้าของตั้งแต่ 10,000-15,000 บาท

ลักษณะผลของลูกหยี เมื่อดิบจะเป็นสีเขียว เมื่อสุกเปลือกจะเป็นสีดำ เนื้อในสีน้ำตาล ขนาดผลโตเต็มที่เท่าปลายนิ้วชี้ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดมีสีดำหรือน้ำตาล ลักษณะแบน
การเก็บลูกหยี เมื่อรานกิ่งลงมาแล้ว เด็ดผลออกจากก้าน จากนั้นจึงเอาไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วเอาใส่กระสอบ ฝัดให้เปลือกสีดำกะเทาะออก ใช้กระด้งฝัดเอาเปลือกดำออกจนเหลือแต่เนื้อในสีน้ำตาล นำไปตากแดดอีกครั้งหนึ่ง

ถ้าจะรับประทานสดก็เพียงแต่แกะเปลือกสีดำออกก็รับประทานได้แล้ว แต่ถ้าจะให้มีรสอร่อยและเพื่อจำหน่ายให้ได้ราคาจะต้องปรุงรสอีก การปรุงรสลูกหยีให้ได้รสอร่อย นิยมทำกัน 3 วิธีคือ ทำเป็นลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่องและฉาบน้ำตาล


 
 






 
 
     
 
ผลิตภัณฑ์จากต้นกระจูด ต้นกระจูดมี 2 ชนิด คือ จูดใหญ่ และจูดหนู จูดใหญ่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก ส่วนจูดหนูมีลำต้นเล็กและสั้น ความเหนียวน้อยกว่าจูดใหญ่ โดยทั่วไปราษฎรทางภาคใต้ใช้กระจูดในการสานเสื่อ ทำใบเรือ ทำเชือกผูดมัด และทำกระสอบบรรจุสินค้าเกษตรและสิ่งของอื่น ๆ

กรรมวิธีสานเสื่อจูดนั้นจะแตกต่างจากการสานเสื่อทั่วไป คือ ชาวบ้านจะนำต้นกระจูดมาคลุกดินขาวก่อนตากแดดให้แห้งแล้วจึงทุบต้นกระจูดให้แบนเพื่อให้มีความนิ่มตัวสำหรับ หากต้องการให้มีสีสันก็นำไปย้อมสีก่อนนำ

ด้วยเหตุนี้เองชาวบ้านจึงได้รวมกลุ่มกันเพื่อทำผลิตภัณฑ์จากต้นกระจูด ซึ่งมีความคงทนต่อการใช้งานเป็นสินค้าที่มีคุณภาพเป็นอย่างมาก โดยมีการทำเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆอาทิ โต๊ะ กระเป๋า และอื่นๆอีกมากมาย

 
 
 




 
 
     
 
การแกะสลักรูปหนังตะลุง เป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสดงหนังตะลุง หนังคณะหนึ่งๆ ใช้รูปหนังประมาณ 150-200 ตัว แกะโดยนายช่างผู้ชำนาญ ในจังหวัดหนึ่งๆ ของภาคใต้ มีเพียง 2-3 คนเท่านั้น ต้นแบบได้มาจากรูปหนังใหญ่ เพราะรูปเก่าแก่ที่เหลืออยู่เท้าเหยียบนาค มีอายุกว่า 100 ปีไปแล้ว ต้นแบบสำคัญคือรูปเรื่องรามเกียรติ์ที่ฝาผนังรอบวัดพระแก้ว ผสมผสานกับรูปหนังของชวา ทำให้รูปกะทัดรัดขึ้นและมือหน้าเคลื่อนไหวได้

กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะ ช่างภาคใต้ที่ไปพบเห็นก็ถ่ายทอดมาเป็นแบบ ช่างราม เป็นช่างแกะรูปหนังที่เก่าแก่คนหนึ่งของจังหวัดพัทลุง นอกจากแกะให้หนังภายในจังหวัดแล้ว ยังแกะให้หนังต่างจังหวัดด้วย รูปของช่างรามได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศ แม้ถึงแก่กรรมไปประมาณ 60 ปีแล้ว ชื่อเสียงของท่านทางศิลปะยังมีผู้คนกล่าวขานถึงอยู๋ท่านเลียนแบบรูปภาพ เรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระแก้วเริ่มแรกก็แกะรูปที่ นำไปแสดงเรื่องรามเกียรติ์อย่างเดียวจึงได้ชื่อว่า"ช่างราม" ครั้งหนึ่งท่านส่งรูปหนุมานเข้าประกวด ดูผิวเผินสวยงามมาก หัวของวานร ต้องเกิดจากวงกลม แต่ของช่างรามไม่อยู่ในกรอบของวงกลม จึงไม่ได้รับรางวัล

การละเล่นพื้นเมืองที่ได้ชื่อว่า"หนัง" เพราะผู้เล่นใช้รูปหนังประกอบการเล่านิทานหลังเงา การแกะรูปหนังตัวสำคัญ เช่น ฤาษี พระอิศวร พระอินทร์ นางกินรี ยังคงเหมือนเดิม แต่รูปอื่นๆ ได้วิวัฒนาการไปตามสมัยนิยมของผู้คน เช่น ทรงผม เสื้อผ้า รูปหนังรุ่นแรกมีขนาดใหญ่รองจากรูปหนังใหญ่ฉลุลวดลายงดงามมาก เป็นรูปขาวดำ แล้วค่อยเปลี่ยนรูปให้มีขนาดเล็กลง ระบายสีให้ดูสะดุดตายิ่งขึ้น

สมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เคร่งครัดทางด้านวัฒนธรรมมาก ออกเป็นรัฐนิยมหลายฉบับ ยักษ์นุ่งกางเกงขายาว สวมหมวก รูปตลก รูปนาง รูปพระสวมหมวก สวมเสื้อ นุ่งกางเกง นุ่งกระโปรง รูปหนังที่ออกมาแต่งกายมีผิดวัฒนธรรม ตำรวจจะจับและถูกปรับทันที

การแกะรูปหนังสำหรับเชิดหนัง ให้เด่นทางรูปทรงและสีสัน เมื่อทาบกับจอผ้า แสงไฟช่วยให้เกิดเงาดูเด่นและสะดุดตา กรรมวิธีแกะรูปหนังแบบพื้นบ้านนำหนังวัวหนังควายมาฟอก ขูดให้เกลี้ยงเกลา หนังสัตว์ชนิดอื่นก็นิยมใช้บ้าง เช่น หนังเสือใช้แกะรูปฤาษีประจำโรงเป็นเจ้าแผง

ในปัจจุบัน รูปหนังแกะจากหนังวัวอย่างเดียว ซื้อหนังจากร้านค้าที่ฟอกสำเร็จรูปอยู่แล้ว ทั้งสามารถเลือกหนังหนา บาง ได้ตามความต้องการ นายช่างวางหนังลงบนพื้นเขียงที่มีขนาดใหญ่ ใช้เหล็กปลายแหลมวาดโครงร่าง และรายละเอียดของรูปตามที่ต้องการลงบนผืนหนัง ใช้แท่งเหล็กกลมปลายเป็นรูคม เรียกว่า "ตุ๊ดตู่" ตอกลายเป็นแนวตามที่ใช้เหล็กแหลมร่างไว้ ส่วนริมนอกหรือส่วนที่เป็นมุมเป็นเหลี่ยมและกนกลวดลายอันอ่อนช้อย ต้องใช้มีดปลายแหลมคมยาวประมาณ 2 นิ้ว มีด้ามกลมรี พอจับถนัดมือขุดแกะ ทั้งตุ๊ดตู่และมีดขุดแกะมีหลายขนาด เมื่อทำลวดลายตามที่ร่างไว้เสร็จตัดออกจากแผ่นหนัง เรียกว่ารูปหนัง รูปใดนายช่างเห็นว่าได้สัดส่วนสวยงาม นายช่างจะเก็บไว้เป็นแม่แบบ เพียงแตะระบายสีให้แตกต่างกัน รูปที่นิยมเก็บไว้เป็นแบบ มีรูปเจ้าเมือง นางเมือง รูปยักษ์ รูปวานร รูปพระเอก รูปนางเอก นำรูปแม่แบบมาทาบหนัง แกะไปตามรูปแม่แบบ ประหยัดเวลา และได้รูปสวยงาม ผลิตได้รวดเร็ว สีที่ใช้ระบายรูปหรือลงสี นิยมใช้น้ำหมึก สีย้อมผ้า สีย้อมขนม มีสีแดง เหลือง แสด ชมพู ม่วง เขียว น้ำเงิน และสีดำ ต้องผสมสีหรือละลายสีให้เข้มข้น ใช่พู่กันขนาดต่างๆ จุ่มสีระบาย ต้องระบายเหมือนกันทั้ง 2 หน้า ระวังไม่ให้สีเปื้อน สีซึมเข้าในเนื้อของหนังเร็ว ลบออกไม่ได้

ช่างแกะรูปต้องมีความรู้ประวัติที่มาของรูป ศึกษาแบบของรูป จากรูปจริง จากรูปภาพ การเปลี่ยนอิริยาบทของรูปได้อย่างถูกต้อง การเบิกตา เบิกปากรูปต้องใช้เวทมนต์ประกอบด้วย ที่สำคัญต้องมีสมาธิอย่างแน่วแน่ เศษหนัง ทำเป็นมือรูป ริมฝีปากล่าง อาวุธต่างๆ ใช้ร้อยมือให้ติดกันเป็น 3 ท่อน เพื่อให้มือเคลื่อนไหวได้

เมื่อสีแห้งสนิทแล้ว ลงน้ำมันยางใส เพื่อให้รูปเกิดเงาวาววับ เดี๋ยวนี้หาน้ำมันยางไม่ได้ ใช้น้ำมันชักเงาแทน จากนั้นติดไม้ตับ ติดไม้มือ รูปที่ชักปากได้ ติดคันเบ็ดผูกเชือกชักปาก เป็นอันว่าเป็นรูปหนังที่สมบูรณ์ ช่างแกะรูปหนัง นอกจากแกะจำหน่ายแก่คณะหนังตะลุงแล้ว ยังแกะจำหน่ายทั่วไป เพื่อนำไปประดับประดา อาคารบ้านเรือน ชาวต่างชาตินิยมกันมาก แต่ต้องทำอย่างประณีต บรรจง จึงจะจำหน่ายได้ราคาดี ช่างแกะรูปหนังหาความร่ำรวยมิได้ เพียงแต่พอดำรงชีพอยู่ได้เท่านั้น


 
 
 




 
     
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
วิสาหกิจชุมชน  กระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ชุมชนได้ค้นหาศักยภาพตนเอง และสามารถพัฒนาไปสู่การพึ่งตนเองได้
                             รายละเอียด
 
 
 

 
ครูบัญชี เป็นกลไกที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ด้านบัญชีแก่เกษตรกร ประชาชน และเยาวชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและอยู่ดีมีสุข
                             รายละเอียด
 
 
 
สงวนลิขสิทธิ์ © 2564 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์พัทลุง
ศูนย์บริการประชาชน (Call Center) 0 7461 2088 โทรสาร 0 7461 2088
การแสดงผลหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดสำหรับ Browser Google Chrome และ Browser Mozila Firefox ความละเอียดหน้าจอ 1024x650 pixel